วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

รูุปแบบรายงาน ปก คำนำ สารบัญ เนื่อหา บรรานุกรม






  วิทยุสื่อสาร





นางสาวสาลิกา  สิงห์ทอง  สาขาการจัดการทั่วไป กลุมเรียน (วันศุกร์เช้า)



รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาทักษะสารนิเทศ
สาขาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการจัดการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556



คำนำ
              รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่อง Trasformersl และเป็นส่วนหนึ่งของวิชาทักษะทางสารนิเทศ (Information Literacy ) รหัสวิชา 00-021-101 ซึ่งรายงานเล่มนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
               เนื้อหาภายในรายงานได้มีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลวิทยุสื่อสาร ความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร ส่วนประกอบของวิทยุสื่อสาร และองค์ประกอบของการสื่อสารเป็นต้น เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาจึงได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของรายงาน
              สุดท้ายนี้หากรายงานฉบับนี้มีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องประการใด ข้าพเจ้ายินดีจะนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

นางสาวสาลิกา  สิงห์ทอง
                                                                                                    21 กันยายน 2556


สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                         หน้า
1.บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร                                                         1
       1.2  ความหมายของวิทยุสื่อสาร                                                                            1
       1.3 ประโยชน์ของวิทยุสื่อสาร                                                                               2
2. ส่วนประกอบของวิทยุสื่อสาร                                                                                  2
       2.1 ตัวเครื่องและหน้าจอ                                                                                       3
       2.2 แหล่งพลังงาน                                                                                                 3
       2.3 สายอากาศ                                                                                                       3
3. คู่มือวิทยุสื่อสาร
      3.1 การใช้เครื่องอย่างถูกต้อง
      3.2 การตรวจสอบผลิตภัณฑ์
      3.3 การตั้งค่า สแควซ์ (SOL)
      3.4 การส่ง
      3.5 การตั้งค่าพื้นฐาน
บรรนาณุกรม

วิทยุสื่อสาร
1 บทนำ
        1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
           ในคริสต์ศักราชที่ 19 นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษชื่อ เจอมส์ เคลิก แมกซ์เวลล์ (Jamer CIerk MaxweII) ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและได้ตีพิมพ์บทความในปี ค.ศ.1864 กล่าวถึง กฎพื้นฐานของคลื่นแม่เหล็ก-ไฟฟ้าอย่างกะทัดรัด โดยเขียนในรูปแบบของสมการคณิตศาสตร์ สมการเหล่านี้เป็นพื้นฐานของวิชา ดังกล่าว และยังใช้กันตราบจนทุกวันนี้ ปัจจุบันสมการเหล่านี้ เรียกว่า สมการของแมกซ์เวลล์ อย่างไรก็ดี แมกซ์เวลล์ไม่ได้ทำการทดลองที่สนับสนุนทฤษฎีของเขา ต่อมาในปี ค.ศ.1887 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ ไฮน์ริช เฮิรตซ์ (Heinrich Hertz) ได้ทำการทดลองการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านอากาศ การลดลองมีเครื่องส่งและเครื่องรับเครื่องส่งประกอบด้วย แหล่งกำเนิดไฟฟ้าต่อผ่านขอลวดเหนี่ยวนำ ไปยังลวดที่มีสองปลายติดกับทรงกลมที่มีช่องว่างห่างกันเล็กน้อย เมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปมากพอก็จะเกิดประกายไฟขึ้นตรงช่องว่างประกายไฟนี้  ทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระจายออกไปรอบทิศ ส่วนเครื่องรับจะประกอบด้วยลวดวงกลมมีสองปลายติดกับทรงกลม ซึ่งมีช่องว่าง ระหว่างทรงกลมเล็กน้อยเช่นเดียวกับเครื่องส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ตัดผ่านภายในขดลวดของเครื่องรับ จะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหล ในขดลวดของเครื่องรับเมื่อคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้ามีความแรงเพียงพอ ก็จะทำให้เกิดประกายไฟระหว่างทรงกลมทั้งสองของเครื่องรับ การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า เราสามารถส่งสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้โดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และไม่ต้องใช้สายต่อเชื่อมระหว่างเครื่องส่งและเครื่องรับเลย
         1.2 ความหมายของวิทยุสื่อสาร
           ระบบวิทยุ หมายถึง ระบบที่มีการส่งสัญญาณจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือที่เรียกกันง่าย ว่า คลื่นวิทยุ ระบบวิทยุที่รู้จักกันมากที่สุดเพราะเกือบทุกคนใช้หรือสัมผัสในชีวิตประจำวันก็คือ วิทยุกระจายเสียง ซึ่งประกอบด้วยสถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆ และเครื่องรับวิทยุที่มีตามบ้านเรือน หรือเครื่องขนาดเล็กๆ ที่พกติดตัวไปได้ นอกจากวิทยุกระเสียงแล้ว ระบบวิทยุยังใช้ในการสื่อสารต่างๆ อีกหลายประเภท ดังเช่น ระบบเรดาร์ที่ใช้สำหรับวัดความเร็วของรถยนต์ หรือใช้สำหรับตำแหน่งของเครื่องบินระบบสื่อสาร ระหว่างพื้นโลกกับยานอวกาศ ระบบสื่อสารระหว่างนักบินและสถานีควบคุมการบินโทรศัพท์ไร้สายและโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์ระหว่างประเทศผ่านดาวเทียมสัญญาณของโทรทัศน์ก็ส่งด้วยคลื่นวิทยุเช่นกัน
        1.3 ประโยชน์ของวิทยุสื่อสาร
·       บุคคลทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้ และไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน
·       ไม่พลาดการติดต่อสื่อสารทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
·       เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการจำกัดพื้นที่ เช่น ภายในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง ท่าเรือ ขนส่ง โรงงานอุตสาหกรรม งานรักษาความปลอดภัย งานประกันภัย การท่าอากาศยาน โรงแรม โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น

2. ส่วนประกอบของวิทยุสื่อสาร
          ส่วนประกอบของวิทยุสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนหลักๆคือ
         2.1 ตัวเครื่อง
          ตัวเครื่องของวิทยุสื่อสารจะมีส่วนที่ประกอบไปด้วยแผงวงจรและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เครื่องวิทยุสื่อสารแต่ละรุ่นออกแบบมา

ส่วนประกอบของตัวเครื่อง
         1. เสาอากาศ (ANTENNA)
        2. ไฟบอกสถานะ สี่แดง กำลังส่ง สีเขียว กำลังรับ (LED)
         3. ปุ่มเปิด-ปิดเครื่องและปรับความดังของเสียง (PWR/VOL)
         4. หน้าจอแสดงผล (LCD DISPLAY)
         5. ปุ่มกด (KEYPAD)
         6. ลำโพง/ไมค์โครโฟน (SPEAKER/MICROPHONE)
         7. แจ็คไมโครโฟน (MIC JACK)
 ส่วนประกอบของหน้าจอ
         1. แสดงการใช้งาน R
         2. แสดงการใช้งาน +/-
         3. แสดงการใช้งาน ช่องย่อย (CTCSS)
         4. แสดงการใช้งาน ช่องย่อยดิจิตอล (DCS)
         5. แสดงการใช้งาน เรียก (CALL)
         6. แสดงการใช้งาน พูดโดยไม่ต้องกดปุ่ม ส่ง (VOX)
      
  2.2 แหล่งพลังงาน
           แหล่งพลังงาน คือ ตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งส่วนที่จะป้อนพลังงานให้กับตัวเครื่องให้เครื่องวิทยุสื่อสารสามารถทำงานได้ ซึ่งจะมีทั้งแบบแหล่งพลังงานแบบแบตเตอรี่แพค (battery pack) และแบบไฟฟ้ากระแสตรง (DC volts)
       2.3 สายอากาศ
          เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับสัญญาณวิทยุ ที่อยู่ในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาในตัวเครื่องเพื่อผ่านการแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า และในทางกลับกัน สายอากาศ จะทำหน้าที่แพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ผ่านการแปลงจากกระแสไฟฟ้ามาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งออกไปยังเครื่องรับสัญญาณวิทยุปลายทาง


 บรรณานุกรม
กาญจนา  แก้วเทพ.  2541.  ประโยชน์ของวิทยุสื่อสาร.    กรุงเทพมหานคร:
                คณะนิเทศศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิตย์  วรกิจโภคาทร.  2531.  ส่วนประกอบของวิทยุสื่อสาร[ม.ป.ท.]:  สาลิกา.
               ค้นเมื่อ  22  กันยายน  2556จาก E-Library,  รหัสหนังสือ 00001441

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นิยามความหมายของวิชาการ

1.ความหมายของรายงานทางวิชาการ
     - ผลของการศึกษาค้นคว้า ที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้  เนื่องจากมีการจัดทำอย่างเป็นระบบ
จัดเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการศึกษา
 
2.ความสำคัญของรายงานทางวิชาการ
     2.1 เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ และทักษะในการศึกษาค้นคว้า
     2.2 เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะด้านการอ่าน คิด และเขียน
     2.3 เพื่อให้ฝึกการทำงานร่วมกัน

3.ส่วนประกอบของรายงานทางวิชาการ
     3.1 หน้านอก
     3.2 ใบรองปก
     3.3 ปกใน
     3.4 คำนำ
     3.5 สารบัญ: สารบัญเนื้อหา, สารบัญตาราง, สารบัญภาพประกอบ
     3.6 เนื้อเรื่อง
     3.7 บรรณานุกรม
     3.8 ใบรองปก
     3.9 ปกนอก

4.ขั้นตอนการทำรายงานทางวิชาการ
    4.4 เสนอหัวข้อหรือประเด็นที่ต้องการศึกษา
    4.2 รวบรวมข้อมูล
    4.3 การวางแผนการเขียนหรือวางโครงเรื่อง
          กรอบหรือแนวทางในการเรีบยเรียงเนื้อหา มักจัดแสดงในรูปของหัวข้อ โดยมีทั้งหัวข้อใหญ่และ               หัวข้อย่อย แต่ละหัวข้อจะมีเลขกำกับ เพื่อแสดงลำดับและความสัมพันธ์ของเรื่อง
    4.4 เรียบเรียงเนื้อหา
    4.5 จัดทำส่วนประกอบอื่นๆ
    4.6 ตรวจสอบความถูกต้อง และครบถ้วนของงานก่อนเข้าเล่ม นำเสนออาจารย์

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รูปแบบการเขียนอ้างอิงและตัวอย่าง





บัญชา  ซลิตชากร. (2544).  การพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมหลักสูตรวิทยุสื่อสาร.
            วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต  สาขาวิชาไฟฟ้า  บัณทิตวิทยาลัย                                 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ภานุทรรศน์.  [ม.ป.ป.].  เต้าหู้ วิธีการทำและสูตรอาหาร.  [ม.ป.ท.]:  น้ำฝน.  ค้นเมื่อ  23  สิงหาคม
            2556, จาก E-Library, รหัสหนังสือ  00001445
  

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบ่งปันเอกสาร


https://docs.google.com/document/d/1BLb85CkQcIwjXcp16jL-7gZKbKOtYhv6jSAj9w-OZM4/edit?usp=sharing


บุคคลสำคัญของโลกในพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง





ประวัติ ม.ล. ปิ่น มาลากุล ที่มา wikipedia.org
หม่อมหลวง ปิ่นเกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ณ บ้านถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 6 ใน 13 คน ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (เสงี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม วสันตสิงห์)) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 8 คน ได้แก่
หม่อมหลวงปก มาลากุล
หม่อมหลวงป้อง มาลากุล
หม่อมหลวงเปนศรี มาลากุล
หม่อมหลวงปนศักดิ์ มาลากุล
หม่อมหลวงปอง เทวกุล (สมรสกับหม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล)
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
หม่อมหลวงเปี่ยมสิน มาลากุล
หม่อมหลวงปานตา วสันตสิงห์ (สมรสกับนายเมืองเริง วสันตสิงห์)

ประวัติการศึกษา
ปี พ.ศ. 2450 เมื่อหม่อมหลวงปิ่นมีอายุได้ 4 ขวบ ท่านได้เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านกับครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์) ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (ณ สมัยนั้นเป็นโรงเรียนวัดราชบูรณะ) และต่อมาในปี พ.ศ. 2457 หม่อมหลวงปิ่นก็เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง

ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนักเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนอีก แต่ปลายปีนั้นก็ยังคงมาสอบไล่และสามารถสอบผ่านชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งทำให้เลื่อนไปเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ก็ไม่ได้มาเรียนหรือมาสอบอีกเลย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ จึงออกไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ โดยไปเข้าเรียนที่ The School of Oriental and African Studies, University of London (SOAS) หรือวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน และได้รับประกาศนียบัตรวิชาภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤต แล้วได้ย้ายไปศึกษาต่อที่คณะบูรพคดีศึกษา (Faculty of Oriental Studies) สถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประสบความสำเร็จโดยได้ปริญญาตรี (B.A.) เกียรตินิยมสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) วิชาเอกภาษาบาลีและสันสกฤต ในปี พ.ศ. 2471

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (M.A.) ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ท่านสังกัดวิทยาลัยบเร๊สโนส (Brasenose College) และในปี พ.ศ. 2498 ท่านก็ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นแรก)

เขียนโดย  http://th.wikipedia.org/

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แสดงความคิดเห็นจาการชมภาพยนต์


                                                จงแสดงความคิดเห็น


1. ฉากหรือตอนใดในภาพยนต์ที่นักศึกษาชอบมากที่สุด เพราะเหตุใด
ตอบ ฉากที่ชอบมากที่สุดนะค่ะ คือฉากที่ดูตอนสุดท้าย ถึงจอร์จ จะติดคุก 2 ปี แต่ก้รู้สึกตื้นตันจริงๆค่ะ ที่ลูกน้องเก่าของ จอร์จ ทุกคน ได้สิ่งที่จอร์จ สัญญาไว้ว่า จะเอาเงินบำเน็จมาคือให้ได้ทุกสตางค์ แกเป็นหัวหน้าที่ดี จริงๆเรยค่ะ

2. ฉากหรือตอนใดไม่สมจริง หรือไม่มีความเป็นเหตุเป็นผล เพราะเหตุใด
ตอบ ฉากที่แสดงนำได้พูดกับผู้หญิงคนหนึ่งก่อนจะเดินออกจากคอนโด แล้วตอนจบเธอคนนั้นก้สอบเป็นทนายความแล้ว มาว่าการให้ (ยังไม่ค่อยเข้าใจที่โยคฉากที่เค้าคุยกัน)

3.จงบอกชื่อของคน หรือ สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ หรือ พฤติกรรมที่เห็นในภาพยนต์ที่แตกต่างจากที่เห็นและเป็นอยู่ในบ้านเรา
ตอบ ชื่อคน - จอร์ช โคแวคส์อาร์เธอร์ ชอรว์สไลด์โรสสิ่งของ -รถเฟอร์รารี่  
สัตว์ - สุนัขพันธุ์ปอมเมอร์เรเนียน
เหตุการณ์ที่แตกต่างจากสังคมบ้านเราคือ  การมีประเพณีบูชาเทพเจ้า
ชื่อคน : จอร์จ โคแวคส์,อาร์เธอร์ ชอรว์, สไลด์,โรส,  
สิ่งของ : รถเฟอร์รารี่
สัตว์ : สุนัขพันธ์ปอมเมอร์เรเนียน
เหตุการณ์ที่แตกต่างจากสังคมบ้านเรา คือ : การมีประเพณีบูชาเทพเจ้า

 เขียนโดย  SALIGA SAIGTONG