วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

รูุปแบบรายงาน ปก คำนำ สารบัญ เนื่อหา บรรานุกรม






  วิทยุสื่อสาร





นางสาวสาลิกา  สิงห์ทอง  สาขาการจัดการทั่วไป กลุมเรียน (วันศุกร์เช้า)



รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาทักษะสารนิเทศ
สาขาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการจัดการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556



คำนำ
              รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่อง Trasformersl และเป็นส่วนหนึ่งของวิชาทักษะทางสารนิเทศ (Information Literacy ) รหัสวิชา 00-021-101 ซึ่งรายงานเล่มนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
               เนื้อหาภายในรายงานได้มีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลวิทยุสื่อสาร ความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร ส่วนประกอบของวิทยุสื่อสาร และองค์ประกอบของการสื่อสารเป็นต้น เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาจึงได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของรายงาน
              สุดท้ายนี้หากรายงานฉบับนี้มีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องประการใด ข้าพเจ้ายินดีจะนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

นางสาวสาลิกา  สิงห์ทอง
                                                                                                    21 กันยายน 2556


สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                         หน้า
1.บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร                                                         1
       1.2  ความหมายของวิทยุสื่อสาร                                                                            1
       1.3 ประโยชน์ของวิทยุสื่อสาร                                                                               2
2. ส่วนประกอบของวิทยุสื่อสาร                                                                                  2
       2.1 ตัวเครื่องและหน้าจอ                                                                                       3
       2.2 แหล่งพลังงาน                                                                                                 3
       2.3 สายอากาศ                                                                                                       3
3. คู่มือวิทยุสื่อสาร
      3.1 การใช้เครื่องอย่างถูกต้อง
      3.2 การตรวจสอบผลิตภัณฑ์
      3.3 การตั้งค่า สแควซ์ (SOL)
      3.4 การส่ง
      3.5 การตั้งค่าพื้นฐาน
บรรนาณุกรม

วิทยุสื่อสาร
1 บทนำ
        1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
           ในคริสต์ศักราชที่ 19 นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษชื่อ เจอมส์ เคลิก แมกซ์เวลล์ (Jamer CIerk MaxweII) ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและได้ตีพิมพ์บทความในปี ค.ศ.1864 กล่าวถึง กฎพื้นฐานของคลื่นแม่เหล็ก-ไฟฟ้าอย่างกะทัดรัด โดยเขียนในรูปแบบของสมการคณิตศาสตร์ สมการเหล่านี้เป็นพื้นฐานของวิชา ดังกล่าว และยังใช้กันตราบจนทุกวันนี้ ปัจจุบันสมการเหล่านี้ เรียกว่า สมการของแมกซ์เวลล์ อย่างไรก็ดี แมกซ์เวลล์ไม่ได้ทำการทดลองที่สนับสนุนทฤษฎีของเขา ต่อมาในปี ค.ศ.1887 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ ไฮน์ริช เฮิรตซ์ (Heinrich Hertz) ได้ทำการทดลองการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านอากาศ การลดลองมีเครื่องส่งและเครื่องรับเครื่องส่งประกอบด้วย แหล่งกำเนิดไฟฟ้าต่อผ่านขอลวดเหนี่ยวนำ ไปยังลวดที่มีสองปลายติดกับทรงกลมที่มีช่องว่างห่างกันเล็กน้อย เมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปมากพอก็จะเกิดประกายไฟขึ้นตรงช่องว่างประกายไฟนี้  ทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระจายออกไปรอบทิศ ส่วนเครื่องรับจะประกอบด้วยลวดวงกลมมีสองปลายติดกับทรงกลม ซึ่งมีช่องว่าง ระหว่างทรงกลมเล็กน้อยเช่นเดียวกับเครื่องส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ตัดผ่านภายในขดลวดของเครื่องรับ จะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหล ในขดลวดของเครื่องรับเมื่อคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้ามีความแรงเพียงพอ ก็จะทำให้เกิดประกายไฟระหว่างทรงกลมทั้งสองของเครื่องรับ การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า เราสามารถส่งสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้โดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และไม่ต้องใช้สายต่อเชื่อมระหว่างเครื่องส่งและเครื่องรับเลย
         1.2 ความหมายของวิทยุสื่อสาร
           ระบบวิทยุ หมายถึง ระบบที่มีการส่งสัญญาณจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือที่เรียกกันง่าย ว่า คลื่นวิทยุ ระบบวิทยุที่รู้จักกันมากที่สุดเพราะเกือบทุกคนใช้หรือสัมผัสในชีวิตประจำวันก็คือ วิทยุกระจายเสียง ซึ่งประกอบด้วยสถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆ และเครื่องรับวิทยุที่มีตามบ้านเรือน หรือเครื่องขนาดเล็กๆ ที่พกติดตัวไปได้ นอกจากวิทยุกระเสียงแล้ว ระบบวิทยุยังใช้ในการสื่อสารต่างๆ อีกหลายประเภท ดังเช่น ระบบเรดาร์ที่ใช้สำหรับวัดความเร็วของรถยนต์ หรือใช้สำหรับตำแหน่งของเครื่องบินระบบสื่อสาร ระหว่างพื้นโลกกับยานอวกาศ ระบบสื่อสารระหว่างนักบินและสถานีควบคุมการบินโทรศัพท์ไร้สายและโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์ระหว่างประเทศผ่านดาวเทียมสัญญาณของโทรทัศน์ก็ส่งด้วยคลื่นวิทยุเช่นกัน
        1.3 ประโยชน์ของวิทยุสื่อสาร
·       บุคคลทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้ และไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน
·       ไม่พลาดการติดต่อสื่อสารทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
·       เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการจำกัดพื้นที่ เช่น ภายในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง ท่าเรือ ขนส่ง โรงงานอุตสาหกรรม งานรักษาความปลอดภัย งานประกันภัย การท่าอากาศยาน โรงแรม โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น

2. ส่วนประกอบของวิทยุสื่อสาร
          ส่วนประกอบของวิทยุสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนหลักๆคือ
         2.1 ตัวเครื่อง
          ตัวเครื่องของวิทยุสื่อสารจะมีส่วนที่ประกอบไปด้วยแผงวงจรและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เครื่องวิทยุสื่อสารแต่ละรุ่นออกแบบมา

ส่วนประกอบของตัวเครื่อง
         1. เสาอากาศ (ANTENNA)
        2. ไฟบอกสถานะ สี่แดง กำลังส่ง สีเขียว กำลังรับ (LED)
         3. ปุ่มเปิด-ปิดเครื่องและปรับความดังของเสียง (PWR/VOL)
         4. หน้าจอแสดงผล (LCD DISPLAY)
         5. ปุ่มกด (KEYPAD)
         6. ลำโพง/ไมค์โครโฟน (SPEAKER/MICROPHONE)
         7. แจ็คไมโครโฟน (MIC JACK)
 ส่วนประกอบของหน้าจอ
         1. แสดงการใช้งาน R
         2. แสดงการใช้งาน +/-
         3. แสดงการใช้งาน ช่องย่อย (CTCSS)
         4. แสดงการใช้งาน ช่องย่อยดิจิตอล (DCS)
         5. แสดงการใช้งาน เรียก (CALL)
         6. แสดงการใช้งาน พูดโดยไม่ต้องกดปุ่ม ส่ง (VOX)
      
  2.2 แหล่งพลังงาน
           แหล่งพลังงาน คือ ตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งส่วนที่จะป้อนพลังงานให้กับตัวเครื่องให้เครื่องวิทยุสื่อสารสามารถทำงานได้ ซึ่งจะมีทั้งแบบแหล่งพลังงานแบบแบตเตอรี่แพค (battery pack) และแบบไฟฟ้ากระแสตรง (DC volts)
       2.3 สายอากาศ
          เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับสัญญาณวิทยุ ที่อยู่ในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาในตัวเครื่องเพื่อผ่านการแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า และในทางกลับกัน สายอากาศ จะทำหน้าที่แพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ผ่านการแปลงจากกระแสไฟฟ้ามาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งออกไปยังเครื่องรับสัญญาณวิทยุปลายทาง


 บรรณานุกรม
กาญจนา  แก้วเทพ.  2541.  ประโยชน์ของวิทยุสื่อสาร.    กรุงเทพมหานคร:
                คณะนิเทศศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิตย์  วรกิจโภคาทร.  2531.  ส่วนประกอบของวิทยุสื่อสาร[ม.ป.ท.]:  สาลิกา.
               ค้นเมื่อ  22  กันยายน  2556จาก E-Library,  รหัสหนังสือ 00001441